การเตรียมข้อมูลเบื้องต้น สำหรับบันทึกบัญชีแบบ Perpetual

 

ขั้นตอนที่ 1        การเตรียมชื่อโครงการ  กำหนดที่ เมนูเริ่มระบบ ข้อ 7 กำหนดแผนก

HO        สนญ.                สำนักงานใหญ่                

BN        บางนา        โครงการบางนาทาวเวอร์

bu01_zoom80

รูปที่ 1

 

ขั้นตอนที่ 2        การเตรียมผังบัญชี กำหนดที่ เมนูบัญชี ข้อ 2 ผังบัญชี จะต้องสร้างผังบัญชีที่จะใช้เกี่ยวกับโครงการโดยให้กำหนดตรงบรรทัด "แยกแผนก" เป็น Y (ดูรูปที่ 2 ประกอบ)เช่น            

บัญชี

หมวด

เลขที่บัญชี

ลูกหนี้โครงการ

สินทรัพย์

1130-05

งานระหว่างก่อสร้าง

สินทรัพย์

1140-03

วัสดุก่อสร้าง

สินทรัพย์

1140-04

ค่าก่อสร้างเรียกเก็บตามสัญญา 

หนี้สิน

2120-03

รายได้ค่ารับเหมาก่อสร้าง

รายได้

4100-05

ค่าวัสดุก่อสร้าง

ค่าใช้จ่าย

5110-01

ต้นทุนก่อสร้าง

ค่าใช้จ่าย 

5120-00

เงินเดือนและค่าแรง

ค่าใช้จ่าย 

5310-01

ค่าเบี้ยเลี้ยง

ค่าใช้จ่าย 

5310-03

 

bu02_zoom70

รูปที่ 2

 

ขั้นตอนที่ 3        กำหนดคลังสินค้าตามชื่อโครงการ โดยกำหนดที่ เมนูเริ่มระบบ ข้อ 2 ตารางข้อมูล / 21 คลังสินค้า

HO        สนญ.                สำนักงานใหญ่

BN        บางนา        โครงการบางนาทาวเวอร์

bu03_zoom80

รูปที่ 3

 

ขั้นตอนที่ 4        เตรียมข้อมูลเจ้าหนี้  กำหนดที่  เมนูซื้อ ข้อ 6 รายละเอียดผู้จำหน่าย

bu04_zoom70

รูปที่ 4

 

ขั้นตอนที่ 5        เตรียมข้อมูลลูกหนี้  กำหนดที่ เมนูขาย ข้อ 6 รายละเอียดลูกค้า

bu05_zoom70

รูปที่ 5

 

ขั้นตอนที่ 6        เตรียมข้อมูลวัตถุดิบกำหนดกลุ่มบัญชีวัตถุดิบที่ เมนูเริ่มระบบ ข้อ 1. กำหนดค่าเริ่มต้นต่าง ๆ ข้อ3. ระบบสินค้าคงเหลือ  2. กลุ่มบัญชีสินค้า และกำหนดที่ เมนูสินค้า ข้อ 2 รายละเอียดสินค้า

bu06

รูปที่ 6

 

bu07_zoom70

รูปที่ 7

 

ขั้นตอนที่ 7        เตรียมข้อมูลสินค้าบริการ  กำหนดที่ เมนูสินค้า ข้อ 4 รายละเอียดสินค้าบริการ

bu08_zoom70

รูปที่ 8

 

ขั้นตอนที่ 8        เตรียมข้อมูลค่าใช้จ่ายที่ เมนูซื้อ ข้อ 7 รายละเอียดค่าใช้จ่ายโดยกำหนดรหัสค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องนำมาใช้ในการบันทึกรายการ เช่นเงินเดือนและค่าแรง,ค่าเบี้ยเลี้ยง

bu09_zoom70

รูปที่ 9

 

ขั้นตอนที่ 9 สร้างเอกสารที่จำเป็นต้องใช้เพิ่มเติม  กำหนดที่ เมนูเริ่มระบบ ข้อ 4 กำหนดเลขที่เอกสาร โดยให้คัดลอกจาก หมวด OU " จ่ายวัตถุดิบเข้าโครงการ" และกำหนด เลขที่บัญชีด้าน Dr.เป็น งานระหว่างก่อสร้าง

bu10_zoom70

รูปที่ 10

 

bu11_zoom70

รูปที่ 11

 

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

บริษัท รักไทย จำกัด ได้รับเหมาก่อสร้างอาคารชุดแห่งหนึ่งที่บางนา โดยกำหนดอายุการก่อสร้าง 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี

2551 – 2553  สำหรับโครงการรับเหมาก่อสร้างอาคารชุดนี้ได้กำหนดมูลค่าการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 45,000,000.00 บาท และทางบริษัทฯ ได้ประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก่อสร้างโครงการนี้ประมาณ 31,000,000.00 บาท และมีรายละเอียดการดำเนินงานใน ปี 2551 ดังนี้

ปี 2551

 

 

ราคาตามสัญญา        

 

45,000,000.00

หัก : ราคาทุนก่อสร้าง

 

 

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจนถึงสิ้นปีปัจจุบัน

10,000,000.00

 

ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายอีกจนงานเสร็จโดยประมาณ

21,000,000.00

 

รวม ราคาทุนก่อสร้าง

 

31,000,000.00

กำไรโดยประมาณ        

 

14,000,000.00

 

กรณีที่กิจการใช้วิธีบันทึกรายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำสำเร็จ

 

คำนวณหาอัตราร้อยละของงานที่ทำเสร็จ

=  คชจ.ที่เกิดขึ้นจนถึงสิ้นปีปัจจุบัน /

ราคาทุนรวม * 100

 

=  10,000,000/31,000,000 * 100

 

=  32.25 %

คำนวณหารายได้ที่รับรู้

=  ราคาตามสัญญา *

อัตราร้อยละของงานที่ทำเสร็จ

 

=  45,000,000 * 32.25 %

 

=  14,512,500

คำนวณการกำไรที่รับรู้ปี 2551

=  รายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน –

คชจ.ที่เกิดขึ้นถึงสิ้นปีปัจจุบัน

 

=  14,512,500 – 10,000,000

 

=  4,512,500

กำไรที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน

=  4,512,500

 

 ขั้นตอนในการทำงาน

 

1.        บันทึกซื้อวัตถุดิบที่ เมนูซื้อ / ข้อ 4 ซื้อเงินเชื่อ โดยระบุแผนกและคลังเป็น HO

 bu12_zoom70

รูปที่ 12

 

หมายเหตุ คุณอาจจะระบุคลังที่จะรับวัตถุดิบเข้า เป็นคลังของโครงการก่อสร้างนั้น ๆ เลยก็ได้

โปรแกรมจะบันทึกบัญชี

bu13

รูปที่ 13

 

2.        โอนย้ายวัตถุดิบจากคลังสำนักงานใหญ่ เข้าโครงการก่อสร้างที่บางนาทาวเวอร์ โดยบันทึกที่ เมนูสินค้า ข้อ 1 รายการประจำวันสินค้า / ข้อ 2 โอนย้ายระหว่างคลัง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีวัตถุดิบคงเหลือในแต่ละโครงการเท่าใด รวมทั้งปริมาณวัตถุดิบคงเหลือในสำนักงานใหญ่

bu14_zoom70

รูปที่ 14

 

ในขั้นตอนนี้โปรแกรมจะไม่บันทึกบัญชีให้ ดังนั้นถ้าเป็นการบันทึกบัญชีแบบ Perpetual จะต้องบันทึกรายการเองที่ เมนูบัญชี ข้อ 1 ลงรายการประจำวัน / สมุดรายวันทั่วไป

 

bu15

รูปที่ 15

3.        บันทึกเบิกวัตถุดิบเข้าโครงการที่ เมนูสินค้า ข้อ 1 รายการประจำวันสินค้า / ข้อ 1 จ่ายสินค้าภายใน /

จ่ายวัตถุดิบเข้าโครงการ        

bu16_zoom70

รูปที่ 16

 

โปรแกรมจะบันทึกบัญชี

bu17

รูปที่ 17

4.        บันทึกค่าใช้จ่ายที่ เมนูซื้อ ข้อ 5 บันทึกค่าใช้จ่ายอื่นๆ

 bu18_zoom70

รูปที่ 18

โปรแกรมจะบันทึกบัญชี

bu18

รูปที่ 19

                                                                 

5.        บันทึกโอนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เข้างานระหว่างก่อสร้างที่ เมนูบัญชี ข้อ 1 ลงรายการประจำวัน

bu20

รูปที่ 20

 

6.        บันทึกขายเชื่อ เพื่อเรียกเก็บเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาที่ เมนูขาย ข้อ 4 ขายเงินเชื่อ

หมายเหตุ ให้เลือกภาระภาษีขายเป็นแบบ "เกณฑ์เงินสด"

bu21_zoom70

รูปที่ 21

 

โปรแกรมจะบันทึกบัญชี

bu22

รูปที่ 22

                                   

7.        บันทึกรับชำระหนี้ที่ เมนูการเงิน ข้อ 1 รับเงิน / ข้อ 5 รับชำระหนี้

bu23_zoom70

รูปที่ 23

 

โปรแกรมจะบันทึกบัญชี

bu24

รูปที่ 24

8.        บันทึกรับรู้รายได้ ณ วันสิ้นงวดบัญชี โดยบันทึกที่ เมนูบัญชี ข้อ 1 ลงรายการประจำวัน        

bu25

รูปที่ 25        

9.        บันทึกต้นทุนก่อสร้างที่ เมนูบัญชี ข้อ 1 ลงรายการประจำวัน

bu26

รูปที่ 26                                

 กรณีกิจการใช้วิธีบันทึกรายได้ เมื่อก่อสร้างเสร็จสิ้นตามสัญญา ให้ปฏิบัติเหมือนกัน ตั้งแต่ข้อ 1 – 7 เท่านั้น ส่วนข้อ 8 การบันทึกรับรู้รายได้ และข้อ 9บันทึกต้นทุนก่อสร้าง

จะบันทึกในปีสิ้นสุดงานก่อสร้าง หากต้องการดูรายงานเกี่ยวกับวัตถุดิบ

ที่คงเหลืออยู่ สามารถดูได้จาก รายงาน 427 หรือ 42Cรายงานสินค้าและวัตถุดิบแยกตามคลัง

หรือถ้าจะดูเกี่ยวกับต้นทุนและรายได้ ของแต่ละโครงการก็จะสามารถดูได้จาก รายงานทางด้านบัญชี เช่น รายงานแยกประเภทแยกตามแผนกหรืองบทดลอง หรือดูผลกำไรขาดทุนของแต่ละโครงการได้

รายงาน 427

bu27

 

รายงานแยกประเภท 54

bu28